Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
 
 
 
  รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2555
  วันที่  13/02/2557
 
 


รายละเอียด
สรุปผลการประเมินตนเองและแนวทางการพัฒนา

ผลการดำเนินงานโดยภาพรวมตามจุดมุ่งหมาย ของกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ ประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน มีผลการดำเนินงานของสถานศึกษาดังนี้

ผลการประเมินสถานศึกษาในภาพรวม
ด้านที่ 1 ผลการจัดการศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1.1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี น้ำหนักคะแนน 3 ได้ 2.80 คะแนน อยู่ในระดับ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ 1.2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ น้ำหนักคะแนน 3 ได้ 2.85 อยู่ในระดับ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ 1.3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง น้ำหนักคะแนน 3 ได้ 2.80 อยู่ในระดับ ดีมาก
ตัวบ่งชี้ 1.4 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น น้ำหนัก 3 ได้ 2.65 ดี
ตัวบ่งชี้ 1.5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการศึกษานอกระบบฯ น้ำหนัก 10 ได้ 4.43 ต้องปรับปรุงเร่งด่วน
ตัวบ่งชี้ 1.6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง น้ำหนัก 5 ได้ 3.80 ดี
ตัวบ่งชี้ 1.7 ผู้เรียนมีงานทำหรือมีรายได้เสริม มีทักษะในการทำงานสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต น้ำหนัก 5 ได้ 4.58 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ 1.8 ความพึงพอใจต่อการให้บริการการศึกษาตามอัธยาศัย น้ำหนัก 3 ได้ 2.79 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา พันธกิจและวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา น้ำหนัก 5 ได้ 5.00 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนเอกลักษณ์ของสถานศึกษา น้ำหนัก 5 ได้ 5.00 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 ผลที่เกิดจากการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน น้ำหนัก 5 ได้ 5.00 ดีมาก

รวมคะแนนผลการจัดการศึกษา น้ำหนักด 50 คะแนน ได้ 41.68 คะแนน อยู่้ในระดับ ดี

สรุปผลการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษา
สถานศึกษาสามารถสรุปผลการประเมินตนเอง ด้านผลการจัดการศึกษา อยู่ในระดับ ดี ซึ่งบรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งไว้ ดังนี้
จุดเด่น
งานการศึกษาพื้นฐาน
- สถานศึกษามีการจัดโครงการ กิจกรรม เพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทางการศึกษาของสำนักงาน กศน. และกศน.อำเภอแจ้ห่ม โดยมีการจัดทำแผนการสอน/โครงการเพื่อการพัฒนาผู้เรียน แก้ไขปัญหาทั้งในสถานศึกษาและชุมชน ส่งผลให้ผู้เรียนผู้รับบริการได้รับการพัฒนาทั้งในด้านการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้น
งานการศึกษาต่อเนื่อง
- ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการประกอบอาชีพ เห็นช่องทางการประกอบอาชีพ พัฒนาหรือประกอบอาชีพ มีงานทำ ก่อให้เกิดรายได้และอาชีพในชุมชน
งานการศึกษาตามอัธยาศัย
- ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมรักการอ่านได้หลายรูปแบบเช่นกิจกรรมออกอากาศยามเช้า กระเป๋าความรู้ กล่องความรู้สู่ชุมชน
- ผลการดำเนินการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย บรรลุตามปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษาที่กำหนดไว้

จุดควรพัฒนา
งานการศึกษาพื้นฐาน
- จัดกิจกรรมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งผลให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาด้านสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น
- ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ และพัฒนาการทางการเรียนการศึกษาต่อเนื่องระดับพอใช้
งานการศึกษาต่อเนื่อง
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ยังไม่ได้ดำเนินการในหลักสูตร 40 ชั่วโมงขึ้นไป
- จัดกิจกรรมที่ส่งผลสะท้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
งานการศึกษาตามอัธยาศัย
- ประสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในการร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในชุมชน

แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
-สถานศึกษาควรจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง ส่งเสริมด้านการตลาด ด้านผลผลิต ตลอดจนการกำกับติดตาม และดูแลผู้เรียนการศึกษาเพื่อการมีงานทำอย่างต่อเนื่อง
-ควรพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ให้เป็นหลักสูตร 40 ชั่วโมงขึ้นไป โดยเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ในหมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
- จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนในการเรียนรู้ที่ส่งผลสะท้อนอัตลักษณ์ของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เข่นการสอดแทรกเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดกิจกรรมค่ายเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้เป็นต้น

ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
-สถานศึกษาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง ส่งเสริมด้านการตลาด ด้านผลผลิต ตลอดจนการกำกับติดตาม และดูแลผู้เรียนการศึกษาเพื่อการมีงานทำอย่างต่อเนื่อง
-สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ให้เป็นหลักสูตร 40 ชั่วโมงขึ้นไป โดยเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ในหมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
- จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนในการเรียนรู้ที่ส่งผลสะท้อนอัตลักษณ์ของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เข่นการสอดแทรกเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดกิจกรรมค่ายเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้

ด้านที่ 2 การบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ น้ำหนัก 3 ได้ 2.80 ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 คุณภาพของการบริหารสถานศึกษา น้ำหนัก 2 ได้ 2.00 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ น้ำหนัก 2 ได้ 1.83 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลการบริหารความเสี่ยง น้ำหนัก 2 ได้ 1.60 ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 3.4 ผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา น้ำหนัก 2 ได้ 2.00 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 3.5 ผลการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา น้ำหนัก 2 ได้ 2.00 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ น้ำหนัก 5 ได้ 5.00 ดีมาก

รวมคะแนนผลการบริหารจัดการ น้ำหนัก 18 คะแนน ได้ 17.23 คะแนน อยู่ในระดับ ดีมาก

สรุปผลการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษา
สถานศึกษาสามารถสรุปผลการประเมินตนเอง ด้านผลการบริหารจัดการ อยู่ในระดับ ดีมาก ซึ่งบรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งไว้ ดังนี้

จุดเด่น
1. ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้นำทางวิชาการ นำแนวคิดใหม่ๆ และวางนโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาในด้านต่างๆ อย่างชัดเจน เป็นผู้จุดประกายความคิดในการพัฒนาคุณภาพงาน นำพาบุคลากรให้ตระหนัก และให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีระบบกำกับ ติดตามการดำเนินงาน และพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน และในการใช้ตัวบ่งชี้และมาตรฐาน กศน. เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานตามระบบบริหารงานคุณภาพ(PDCA) ให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
2. มีฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความ สามารถในการดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา และสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาปรับปรุงและการบริหารงานของสถานศึกษาได้ เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ ทางระบบ Internet / www.nfechaehom.com พัฒนาบุคลากรในติดต่อสื่อสารการทำงานโดยเสนอหนังสือราชการผ่านทาง Google Apps บุคลากรเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ผู้บริหารนำเอาการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการบริหารงาน สู่องค์กรการเรียนรู้ นำองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากการทำงานมารายงานข้อมูลผลการดำเนินงาน ทาง Internet ทำให้การดำเนินงานปรากฏต่อสาธารณชน มีผลงานเชิงประจักษ์
3. มีการประเมินแผนพัฒนาคุณภาพ เพื่อนำข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ดำเนินการวิเคราะห์ความสอดคล้องโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานประจำปี กับมาตรฐาน กศน. วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอก เพื่อวางแผนกิจกรรมโครงการรองรับแผนปฏิบัติงานประจำปี กำหนดเป้าหมายความสำเร็จแต่ละมาตรฐานแต่ละตัวบ่งชี้ใหม่ มีการดำเนินการทบทวนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี ตรวจสอบเปรียบเทียบแผนการปฏิบัติและผลการดำเนินงานในการดำเนินการปรับแผน จากข้อมูลการประเมินผลการดำเนินงาน
4. คณะกรรมการสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ เช่น กศน.อำเภอแจ้ห่มจัดประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 3 ครั้งต่อปี ครั้งแรก วันที่ 12 มกราคม 2555 วันที่ เพื่อรับทราบถึงนโยบายและจุดเน้นในการดำเนินงาน ปี 2555 และร่วมกันวางทิศทางการดำเนินงาน ร่วมกันพิจารณาและกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสถานศึกษา ครั้งที่สอง วันที่ 25 มกราคม 2555 เพื่อร่วมกันหารือในการจัดซื้อหนังสือเรียน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และรับทราบถึงผลการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาในหลักสูตรภาษาคำเมือง และครั้งที่สาม 25 มิถุนายน 2555เพื่อรับทราบถึงผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข และพัฒนาปรับปรุง และกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไป ซึ่งผลการประชุมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.อำเภอแจ้ห่ม

จุดควรพัฒนา
1. การจัดกระบวนการเรียนรู้หมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ยังไม่ครอบคลุมทุกกิจกรรมและชัดเจน ควรมีการจัดทำแผนงาน/โครงการหมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้มีกิจกรรมอย่างหลากหลาย ทุกงาน ทุกกิจกรรมที่จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดองค์ความรู้ในหมู่บ้าน ที่คัดเลือกอย่างต่อเนื่อง
2. ต้องมีการวางแผน ควบคุม และมีระบบกำกับติดตามแผนบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2556 ให้สามารถจะที่นำสู่การปฏิบัติ ตามแผนอย่างแท้จริง คือ มีตัวชี้วัดความสำเร็จ มีการติดตาม ประเมินผล นำผลการประเมิน ไปใช้ในการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงตามแผนสู่การปฏิบัติได้จริง เป็นระบบ

แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
1. จัดทำโครงการหมู่บ้านสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้มีกิจกรรมอย่างหลากหลาย ทุกงาน ทุกกิจกรรมที่จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดองค์ความรู้ในชุมชนเป้าหมาย
2. วางแผน ควบคุม และมีระบบกำกับติดตามแผนบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา อบรมชี้แจงทำความเข้าใจ และเน้นย้ำให้คณะกรรมการ และบุคลากรเล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการวางแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อเป็นระบบควบคุมภายในของสถานศึกษา ในการกำกับ ควบคุมการดำเนินงานของสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ร่วมกันทบทวน หาจุดที่ควรพัฒนาและปรับปรุงเพื่อสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในสถานศึกษา และส่งเสริมธรรมาภิบาลภายในสถานศึกษา

ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
ควรพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based) ในการจัดหรือส่งเสริมการเรียนรู้ จากปัญหา ความต้องการพัฒนาของชุมชน ในการเรียนรู้และช่วยกันแก้ปัญหาชุมชน จึงมองเห็นผลที่เกิดจาการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างชัดเจนเป็นระบบ และเป็นรูปธรรม

ด้านที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตัวบ่งชี้ 2.1 คุณภาพของหลักสูตร น้ำหนัก 4 ได้ 3.65 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ 2.2 คุณภาพของครู/ผู้สอน น้ำหนัก 4 ได้ 3.20 ดี
ตัวบ่งชี้ 2.3 คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ น้ำหนัก 4 ได้ 3.20 ดี
ตัวบ่งชี้ 2.4 คุณภาพสอน/วิทยากรสอนการศึกษาต่อเนื่อง น้ำหนัก 3 ได้ 2.80 ดีมาก
ตัวบ่งชี้ 2.5 คุณภาพสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการ น้ำหนัก 3 ได้2.85 ดี
ตัวบ่งชี้ 2.6 คุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย น้ำหนัก 4 ได้ 3.85 ดีมาก
รวมคะแนนผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ น้ำหนักคะแนน 22 ได้ 19.56 คะแนน อยู่ในระดับ ดี

สรุปผลการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษา
สถานศึกษาสามารถสรุปผลการประเมินตนเอง ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับ ดี ซึ่งบรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งไว้ ดังนี้

จุดเด่น
1. ครู/ผู้สอนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะและเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2. มีหลักสูตร/แผนจัดการเรียนรู้ โดยการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน
3. มีการจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ หลากหลาย และตามความต้องการ สนใจของกลุ่มเป้าหมาย

จุดควรพัฒนา
1. การบันทึกหลังการจัดกระบวนการเรียนรู้ไม่ต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน และไม่มีการนำผลการประเมิน หรือบันทึกหลังสอนมาปรับปรุง พัฒนา
2. ครูยังไม่ได้ดำเนินการ หรือติดตามประเมินพัฒนาการของผู้เรียนรายบุคคล

แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
1. ควรวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยการสำรวจผู้เรียนเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม แล้วจัดทำแผนการเรียนรู้ แผนรายสัปดาห์ และบันทึกหลังการสอนทุกครั้ง โดยนำปัญหา/อุปสรรคที่พบมาจัดทำงานวิจัยอย่างง่าย
2. ครูมีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนรายบุคคล เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ครอบคลุมตามแนวทางการดำเนินงาน

ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
1. สถานศึกษาควรจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนและผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อ เทคโนโลยีที่เหมาะสม และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ การประเมินผลที่มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย รวมถึงการให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหา ของผู้เรียนอย่างทั่วถึง นำผลการวิจัยในชั้นเรียนมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าประสงค์ของหลักสูตร
2. ประชาสัมพันธ์การจัดการศึกษาพื้นฐานที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ทั้งการเทียบโอนประสบการณ์ การเทียบระดับการศึกษา และการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (จบ ม.6 ใน 8 เดือน)

ด้านที่ 4 การประกันคุณภาพภายใน
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา น้ำหนัก 5 ได้ 4.00 ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด น้ำหนัก 5 ได้ 4.13 ดี
รวมคะแนนผลการประกันคุณภาพภายใน น้ำหนัก 10 คะแนน ได้ 8.13 คะแนน อยู่ในระดับ ดี

สรุปผลการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษา
สถานศึกษาสามารถสรุปผลการประเมินตนเอง ด้านผลการประกันคุณภาพภายใน อยู่ในระดับ ดี ซึ่งบรรลุตามเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งไว้ ดังนี้

จุดเด่น
1. กศน.อำเภอแจ้ห่ม มีแผนการพัฒนาและสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ มาตรฐานที่ใช้ให้สอดคล้องกับโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานประจำปี กำหนดเป้าหมายความสำเร็จแต่ละมาตรฐานแต่ละตัวบ่งชี้ใหม่ มีการดำเนินการทบทวนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี ตรวจสอบเปรียบเทียบแผนการปฏิบัติและผลการดำเนินงานในการดำเนินการปรับแผน จากข้อมูลการประเมินผลการดำเนินงาน
2. มีฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการของสถานศึกษาและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา และสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาปรับปรุงและการบริหารงานของสถานศึกษาได้ เช่น มีการรายงานผลการดำเนินงานผ่านทาง Website http://www.nfechaehom. com ของอำเภอ ศศช.กศน.ตำบล และห้องสมุดประชาชน การรายงาน /นิเทศติดตามผล โดยให้มีการรายงานผลการดำเนินงานในพื้นที่ทุกอาทิตย์ในการประชุม และทุกเดือนในการประชุมประจำเดือน มีการใช้ข้อมูลจากฐานมานำเสนอต่อที่ประชุมในการติดตามงบประมาณ
3. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน รับผิดชอบในแต่ละมาตรฐาน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการศึกษาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน เพื่อรายงานการประเมินตนเอง (SAR) รอบปีงบประมาณ แต่งตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบและดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาแต่ละมาตรฐาน หรือตัวบ่งชี้ ในพื้นที่ลงสู่การปฏิบัติ มีการสรุปข้อมูลที่สะท้อนผลการดำเนินงานสู่การพัฒนาและปรับปรุงในแผนพัฒนา และแผนปฏิบัติการ เช่น สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี และเอกสารรายงานผลโครงการต่างๆ และผลประเมินคุณภาพภายในและภายนอกมาวิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนา และจัดการประชุมทบทวนสรุปผลการดำเนินงานประจำปี เพื่อวิเคราะห์แผนงานโครงการที่รองรับผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอก
3. ผู้บริหาร กำกับ ติดตามการดำเนินงาน และ พัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน และในการใช้ตัวบ่งชี้และมาตรฐาน กศน. เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานตามระบบบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

จุดควรพัฒนา
1. สถานศึกษาควรดำเนินการนิเทศ และติดตามการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายตามแผน
อย่างต่อเนื่อง ทุกกิจกรรมและมีการประเมินผล และนำข้อมูลผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจ และพัฒนา ปรับปรุงงานในปีต่อไป
2. ควรพัฒนาความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในการดำเนินงานตามระบบบริหารงานคุณภาพ และ
กระบวนการตรวจสอบในระดับพื้นที่ กศน.ตำบล และศศช. ตามหน้าที่ของคณะกรรมการการประเมินคุณภาพภายในยังน้อย ส่วนใหญ่ตรวจสอบจากร่องรอยการทำงาน และการสัมภาษณ์ การตรวจสอบยังขาดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และความเข้าใจในการใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการเก็บข้อมูลของบุคลากรยังน้อย ซึ่งส่งผลต่อการประเมินกิจกรรมโครงการต่าง ๆ รวมทั้งการประเมินตนเอง มีความน่าเชื่อถือน้อยไปด้วย
3. สถานศึกษาควรจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตรและประเมินการใช้หลักสูตรทุกหลักสูตร
4. การบริหารจัดการ สถานศึกษาควรจัดระบบสารสนเทศเพื่อบริการให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็น
5. ปัจจุบัน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ พัฒนาปรับปรุงงานให้มีคุณภาพได้ โดยต้องมีการ
ประเมินโครงการ/กิจกรรม ในทุกโครงการ/กิจกรรม และต้องมีการนิเทศติดตามและกำกับการทำงานตามแผนและการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และนำผลมาปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง คุณภาพการศึกษาวิจัย ควรสนับสนุนส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทำวิจัย แล้วนำผลการวิจัยไปเผยแพร่เพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษาต่อไป

แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
1. ควรร่วมกันวิเคราะห์ ทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงานของสถานศึกษา ให้นำสู่การปฏิบัติอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานในการปฎิบัติงานและสอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของสถานศึกษาอย่างเป็นปัจจุบัน
2. ควรทบทวนแผนการดำเนินงานทั้งแผนพัฒนา กศน.ตำบล และแผนปฏิบัติการให้เป็นปัจจุบันสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
3. ควรกำหนดปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ ที่ชัดเจนให้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบทั้งระดับอำเภอและตำบล
4. ควรให้ทุกคนทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติงาน และรวบรวมจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานที่เกิดจากผู้ปฏิบัติไว้เป็นแนวทางการทำงานที่ชัดเจน
5. คณะกรรมการพัฒนาระบบประกัน ต้องติดตามและนิเทศอย่างสม่ำเสมอ ต้องมีแผนการตรวจติดตามตั้งแต่ต้นปี และต่อเนื่องในระดับพื้นที่ และติดตามผลลัพธ์ (Outcome) ด้วย

ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
1. ควรพัฒนาความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในการดำเนินงานตามระบบบริหารงานคุณภาพ (PDCA) สู่การปฏิบัติอย่างมีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักการ และมีความเป็นปัจจุบัน เก็บข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพื่อการพัฒนา และปรับปรุงอย่างแท้จริงตรงตามสภาพ
2. ควรส่งเสริมและพัฒนาครู กศน. ให้มีความใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ในงานของตนเอง และทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประกันและมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ ให้ชัดเจน ต้องตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำงานอย่างเป็นระบบ ร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันทบทวนวางแผนการดำเนินงานโดยใช้มาตรฐานการศึกษานอกระบบ ตัวบ่งชี้และเกณฑ์พิจารณาใหม่ เป็นเป้าหมายในการบริหารจัดการโดยการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมและครบถ้วนทุกมาตรฐาน
3. สถานศึกษาควรมีการประเมินการใช้หลักสูตร ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาต่อไป
4. สถานศึกษาควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาวิจัย และการวัดประเมินผล เพื่อการ
พัฒนางานการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-----------------------------------------------------------
หน้าหลัก  |   ความเป็นมา   |   โครงสร้าง   |  นโยบาย   |   บทบาท/ภารกิจ   |  บุคลากร  |   ติดต่อเรา  
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม
ที่อยู่ 136 ม.3 ต.แจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โทร./FAX 054-271555