Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
 
 
 
  รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2554
  วันที่  13/02/2557
 
 


รายละเอียด
สรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา

สถานศึกษามีผลการประเมินตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ ดี ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ซึ่ง บรรลุ เป้าหมายความสำเร็จที่กำหนดไว้

1. สรุปผลการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษา



1) จุดเด่น

1. สถานศึกษา มีการกำหนดปรัชญา วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่เป็นลายลักอักษร ครอบคลุมทุกพันธกิจ ของสถานศึกษาซึ่งมีความสอดคล้อง กับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2551 รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายจุดเน้น ของสำนักงาน กศน. ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลำปาง ยุทธศาสตร์และนโยบายการดำเนินงานของ สำนักงาน กศน.จังหวัดลำปางและสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งแผนพัฒนาการศึกษา 3 ปี และแผนปฏิบัติการปี 2554 โดยเครือข่ายมีส่วนร่วมในการทำงาน ทั้งจากคณะผู้บริหาร ครูและบุคลากรในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานเครือข่าย ที่ได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสถานศึกษา และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสถานศึกษาระดับอำเภอ และระดับจังหวัด




2. การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการสภาพปัญหา ความต้องการของท้องถิ่น โดยคณะกรรมการจากภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้มีอำนาจ อนุมัติให้ใช้หลักสูตร รวมถึงมีการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา เพื่อนำผลการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้เหมาะสมต่อไป และสถานศึกษามีครู และบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ ตำแหน่งครูอาสาสมัคร และครู กศน.ตำบลที่มีคุณภาพ เนื่องจากครูทุกคนได้รับการพัฒนาและนำความรู้มาพัฒนางานอย่างต่อเนื่องเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนตาม จรรยาบรรณของวิชาชีพ และครูทุกคนเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูได้ และเป็นผู้มีคุณวุฒิมีประสบการณ์และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้หลักการจัดการศึกษานอกระบบ โดยครูมีแผนจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการและศักยภาพของผู้เรียนในทุกสาระวิชาและทุกระดับชั้น รวมถึงมีการวางแผนการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงและมีการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้


3. การจัดการศึกษานอกระบบประเภทการศึกษาต่อเนื่อง สถานศึกษามีหลักสูตรการเรียนรู้ ที่หลากหลายสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและผู้รับบริการ เนื่องจากสถานศึกษามีการสำรวจ และจัดเวทีประชาคมหาข้อมูล สภาพปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และการวางแผนดำเนินงานให้เหมาะสม กศน.ตำบลทุกตำบล มีแผนการปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาและจากการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการตามแผนฯปรากฏว่าทุกกิจกรรมและโครงการมีผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจกรรมและโครงการ และคุณภาพของ ครูและผู้สอนในแต่ละหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้รับบริการให้เข้าใจและปฏิบัติได้จริง ทำให้ผู้รับบริการที่จบหลักสูตร มีความรู้และความสามารถเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้


4. การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีห้องสมุดประชาชนอำเภอแจ้ห่ม กศน.ตำบลทุกตำบล ศศช. แหล่งเรียนรู้ ทำเนียบผู้รู้ /ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งมีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพียงพอและตอบสนองกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จัดกระบวนการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการหมุนเวียนสื่อลงสู่ กศน.ตำบล และจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลายอย่างทั่วถึงทั้งเชิงรุกและแบบตั้งรับ โดยมีบรรณารักษ์ ครูอาสาสมัคร ครู กศน.ตำบล อาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน เครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดและส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยมีทักษะความรู้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยได้อย่างมีคุณภาพ


5. ระบบบริหารจัดการ มีผู้บริหารที่มีสมรรถนะในการบริหารองค์กร มีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรม มีการบริการที่ดี มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรชุมชนท้องถิ่น และเครือข่าย มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม มีการทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ และ การจัดระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานที่ถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ เช่น การใช้โปรแกรม E-office ในการบริหารจัดการสำนักงาน โปรแกรม E-budget ในบริหารงานด้านงบประมาณ โปรแกรม IT ในการจัดทำระบบข้อมูลนักศึกษาสายสามัญ โปรแกรม CO_Ed ในการจัดทำระบบข้อมูลนักศึกษาวิชาชีพโปรแกรม PLS ในการจัดการกับห้องสมุดประชาชนอำเภอแจ้ห่มและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการตัดสินใจ ติดตาม ปรับปรุงและพัฒนามีการสร้างบรรยากาศในการนำเสนอ มีการจัดทำรายงานการดำเนินงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชา มีการเผยแพร่กิจกรรม ผลงานผ่าน Website www.nfechaehom.com


6. การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้รับความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นอย่างดี เช่น การสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือและสื่อ โครงการสื่อดีสู่ห้องสมุดประชาชน จากเทศบาลตำบลแจ้ห่ม การให้ความอนุเคราะห์ในการใช้ อาคาร สถานที่ จัดตั้งเป็น กศน.ตำบลจากภาคี เครือข่ายต่างๆ ได้แก่ อบต. วัด สถานีอนามัย ชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ สถานศึกษายังได้รับการสนับสนุนบุคลากร เพื่อเป็นวิทยากรให้ความรู้ในกิจกรรม/โครงการต่างๆ เช่น สถานีตำรวจ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีขนส่ง อบต. โรงเรียน รวมไปถึงการให้ความอนุเคราะห์ ยานพาหนะในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา เช่น การเข้าค่าย การอบรมโครงการ ต่างๆ เป็นต้น



2.จุดควรพัฒนา

1. สถานศึกษาควรดำเนินการนิเทศ และติดตามการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายตามแผนอย่างต่อเนื่อง ทุกกิจกรรมและมีการประเมินผล และนำข้อมูลผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินใจ และพัฒนา ปรับปรุงงานในปีต่อไป


2. การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจ ออกแบบกิจกรรม จัดทำแผนการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน


3. สถานศึกษาควรจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตรและประเมินการใช้หลักสูตรทุกหลักสูตร


4. ห้องสมุดประชาชนอำเภอ กศน.ตำบล และศศช. ต้องจัดทำแผนการปฏิบัติที่ระบุกิจกรรมโครงการที่ชัดเจน ทั้งนี้กิจกรรม/โครงการ ควรมาจากการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ รวมถึงสถานศึกษา ควรมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานจัดการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการตรวจสอบผลการดำเนินงานและปรับแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม


5. การบริหารจัดการ สถานศึกษาควรจัดระบบสารสนเทศเพื่อบริการให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ พัฒนาปรับปรุงงานให้มีคุณภาพได้ โดยต้องมีการประเมินโครงการ/กิจกรรม ในทุกโครงการ/กิจกรรม และต้องมีการนิเทศติดตามและกำกับการทำงานตามแผนและการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และนำผลมาปรับปรุงพัฒนางาน อย่างต่อเนื่อง คุณภาพการศึกษาวิจัย ควรสนับสนุนส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทำวิจัย แล้วนำผลการวิจัยไปเผยแพร่เพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษาต่อไป


6. สถานศึกษาควรมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ภาคีเครือข่ายทราบ อย่างต่อเนื่อง


3. แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา

จากผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา เห็นสมควรจัดโครงการ / กิจกรรมเพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามลำดับความสำคัญ ดังนี้


1. โครงการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ทั้งการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง


2 โครงการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะในการปฎิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดกระบวนการเรียนรู้ การศึกษาวิจัย และ การวัดผลประเมินผล การใช้เทคโนโลยี เป็นต้น


3. โครงการนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล ศศช. ห้องสมุดประชาชน และแหล่งเรียนรู้



4. ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต

1. ครูควรมีการส่งเสริมระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน มีการนิเทศ ติดตาม เพื่อให้ผู้เรียนได้มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถเรียนจบได้ตามหลักสูตรและเกณฑ์ที่กำหนดไว้


2. สถานศึกษาควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียน โดยจัดทำแผนการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และได้ลงมือปฎิบัติจริง


3. สถานศึกษาควรมีการประเมินการใช้หลักสูตร ของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาต่อไป


4. สถานศึกษาควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาวิจัย และการวัดประเมินผล เพื่อการพัฒนางานการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


หน้าหลัก  |   ความเป็นมา   |   โครงสร้าง   |  นโยบาย   |   บทบาท/ภารกิจ   |  บุคลากร  |   ติดต่อเรา  
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแจ้ห่ม
ที่อยู่ 136 ม.3 ต.แจ้ห่ม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โทร./FAX 054-271555